พิธีงานศพ จัดขึ้นเพื่อแสดงความโศกเศร้า และไว้อาลัยแด่ผู้ที่จากไป ซึ่งเป็นพิธีที่สำคัญสำหรับคนไทยไม่น้อย ที่ได้จัดพิธีงานศพให้คนที่รักที่จากไปแบบไม่มีวันกลับ หากแต่พิธีงานศพนี้ไม่ได้จัดกันบ่อย ๆ อาจยังไม่ทราบวิธีและธรรมเนียมที่ถูกต้องของไทย บทความนี้จึงจะมาบอกวิธีจัดงานศพให้ให้ถูกต้องทุกขั้นตอน เพื่อเป็นการทำเพื่อผู้ที่จากไปเป็นครั้งสุดท้าย
7 ขั้นตอน จัดพิธีงานศพตามธรรมเนียมไทย
1. การแจ้งเสียชีวิตและขอรับใบมรณบัตร
เมื่อมีผู้ที่เสียชีวิต มี 2 กรณี เพื่อแจ้งการเสียชีวิต คือ
- เสียชีวิตที่บ้าน : ผู้เป็นญาติ ต้องเดินทางไปที่สถานีตำรวจ เพื่อแจ้งการเสียชีวิต และขอใบมรณบัตร แล้วไปทำการที่เขตต่อไป
- เสียชีวิตที่โรงพยาบาล : โรงพยาบาลจะดำเนินการออกใบรับรองแพทย์ เพื่อบอกสาเหตุการเสียชีวิต จากนั้นให้ผู้เป็นญาติทำเรื่องต่อที่การเขตได้เลย หรือบางโรงพยาบาลสามารถขอใบมรณบัตรได้โดยไม่ต้องไปที่เขต
2. ติดต่อวัดเพือขอจัดพิธีงานศพ
เสร็จสิ้นการขอใบมรณบัตรเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เป็นญาติทำการติดต่อวัดที่ต้องการ เพื่อขอนำผู้ที่เสียชีวิต ได้จัดตั้งพิธีงานศพ
สิ่งที่สืบทอดในการนำร่างผู้เสียชีวิตไปที่วัดนั้น ต้องให้ผู้ที่เป็นญาติ ถือรูปผู้เสียชีวิต และกระถางธูปนำหน้า ส่วนพระสงฆ์อย่างน้อย 1 รูป จะเดินตามหลังเพื่อถือสายสิญจน์ที่เชื่อมไปยังโลงศพ เป็นการทำเพื่อนำทางวิญญาณให้ไปที่วัด
3. เริ่มพิธีรดน้ำศพและนำร่างผู้เสียชีวิตใส่ไว้ในโลงศพ
เมื่อนำร่างผู้เสียชีวิตไปมาถึงวัดเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มพิธีรดน้ำศพ
- จัดโต๊ะหมู่บูชาไว้ด้านบนหัวของผู้เสียชีวิต
- จัดร่างผู้เสียชีวิตให้นอนหงาย
- นำผ้าห่มครุมทั้งตัว โดยให้หงายมือขวาให้โผล่ออกมาจากผ้าห่ม
- จัดเตรียมน้ำอบ น้ำหอม และขันเพื่อใช้สำหรับตักน้ำรดศพ
- จุดธูปและเครื่องบูชารัตนตรัยก่อนรดน้ำศพ
- ญาติและผู้ที่มาร่วมอาลัยเริ่มรดน้ำศพทีละคน
- เวลาที่เหมาะศพคือ 16:00 – 17:00 น.
- เมื่อจบพิธีรดน้ำศพ จะนำร่างใส่โลงศพเพื่อทำพิธีต่อไป
4. เริ่มพิธีบำเพ็ญกุศลและสวดอภิธรรมศพ
โดยเริ่มจะนับวันจัดงานศพตั้งแต่ที่ร่างผู้เสียชีวิตมาถึงวัด โดยส่วนใหญ่จะมักสวด 1 คืน 3 คืน 5 คืน หรือ 7 คืน ในทุก ๆ ตอนเย็นเวลา 18:00 – 20:00 น.
5. เริ่มพิธีฌาปนกิจศพ
การนำร่างผู้เสียชีวิตออกจากศาลาวัด ไปยังเมรุเพื่อเผาศพ โดยการแห่ศพทวนเข็มนาฬิกา แห่ศพวนรอบเมรุทั้งหมด 3 รอบ เรียงตามลำดับ
พระสงฆ์ > กระถางธูป > รูปผู้เสียชีวิต > ร่างผู้เสียชีวิต > ญาติและผู้ที่มาร่วมงาน
เมื่อแห่ศพเวียนครบ 3 รอบเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนก่อนเริ่มพิธีงานศพ คือ
- นำร่างผู้เสียชวิตออกจากโลงเย็น ตั้งหน้าหน้าปล่องเมรุ
- พระสงฆ์เริ่มสวดอภิธรรมศพเป็นครั้งสุดท้าย
- ญาติ ๆ ทำการเล่าประวัติความเป็นมาของผู้เสียชีวิต และกล่าวไว้อาลัย
- ญาติ ๆ และผู้ที่มาร่วมงาน เริ่มทยอยนำดอกไม้จันทน์ไปวางไว้หน้าโลงศพของผู้เสียชีวิตหน้าเมรุ
- ญาติ ๆ เริ่มการอำลาและดูหน้าผู้เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้าย
- เริ่มพิธีเผาศพ
6. เก็บอัฐิ
เมื่อจบการเผาร่างผู้เสียชีวิตเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มการเก็บอัฐิ โดยสามารถเก็บได้ 2 เวลา คือ เก็บอัฐิในวันเผา หรือ เก็นในตอนรุ่งเช้า โดยเตรียมโกศบรรจุอัฐิ ดอกไม้ น้ำอบ น้ำหอม และอาหารคาวเพื่อถวายพระสงฆ์บังสุกุลให้ โดยเก็บทั้งหมด 6 ชิ้น คือ
- เศษกะโหลก 1 ชิ้น
- เศษแขน 2 ชิ้น
- เศษขา 2 ชิ้น
- เศษซี่โครง 1 ชิ้น
7. ลอยอังคาร
คือการนำอัฐิที่เหลือจากการเผา โดยการกวาดรวบรวมห่อใส่หีบไม้หรือผ้าขาวห่อไว้ นำไปเทที่แม่น้ำ ซึ่งถือความหมายว่า ขอให้ผู้เสียชีวิต ร่มเย็นดั่งสายน้ำในอีกภพหนึ่ง
เนื่องจากการจัดพิธีงานศพไม่ได้จัดกันบ่อย ๆ ขั้นตอนต่าง ๆ จึงต้องมีการศึกษา แต่ขั้นตอนไม่ยาก สามารถทำได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนดังกล่าว เพื่อเป็นการทำเพื่อผู้ที่เสียชีวิตไปเป็นครั้งสุดท้าย ให้งานออกมาดูซาบซึ้งและไว้อาลัยด้วยความคิดถึงอย่างดีที่สุด
การสือสารในรูปแบบของการมอบดอกไม้ ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสนใจมากเช่นเดียวกัน ซึ่งร้านจัดดอกไม้ของเร า lovelinkflower ให้ความใส่ใจเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านช่อดอกไม้มาตลอด ไม่ว่าจะเป็น ช่อดอกไม้รับปริญญา ดอกไม้วันแม่ ช่อดอกไม้วันวาเลนไทน์ กระเช้าของขวัญปีใหม่ ช่อดอกไม้ของขวัญวันเกิด ช่อดอกไม้สำหรับบอกรัก ดอกไม้วันเกิดให้ผู้ใหญ่ หรือแม้แต่ ดอกไม้แสดงความยินดี สามารถชมผลงานของเราได้ที่ลิงค์นี้เลย https://www.lovelinkflower.com/มีผลงานให้ทุกคนได้เลือกดูมากมาย หรือชอบแบบไหนเป็นพิเศษสามารถนำตัวอย่างมาให้จัดดอกไม้ได้เลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้องในเนื้อหา